มีนิ่วในไตหรือในถุงน้ำดี

มีนิ่วในไตหรือในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คือการเกิดก้อนนิ่วจากการตกผลึกของสารต่างๆ ภายในถุงน้ำดี ซึ่งก้อนนิ่วอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็ก และอาจมีหลายก้อนก็ได้ ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้องใกล้กับตับ และมีหน้าที่เก็บน้ำดีซึ่งมีส่วนสำคัญในการย่อยอาหาร การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีจึงอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง และทำให้การทำงานของถุงน้ำดีผิดปกติได้

อาการของนิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมาก จนทำให้ท่อน้ำดีอุดตัน ก็อาจส่งผลให้มีอาการผิดปกติได้ ดังนี้

  • ปวดท้องด้านขวาบนอย่างรุนแรง อาจปวดร้าวไปถึงหลัง สะบักขวา และหน้าอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน พะอืดพะอม
  • อาจมีอาการอาหารไม่ย่อย จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อได้

หากนิ่วในถุงน้ำดีไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ ซึ่งจะแสดงอาการที่เด่นชัดขึ้น เช่น อาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องรุนแรงมาก จนลุกนั่งไม่ได้

สาเหตุของนิ่วในถุงน้ำดี
ก้อนนิ่วในถุงน้ำดีนั้นเกิดจากการตกผลึกของสารประกอบในน้ำดี 2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน นิ่วที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol gallstones) จะพบได้บ่อยกว่า และมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว ในขณะที่นิ่วที่เกิดจากบิลิรูบิน (pigment gallstones) จะมีสีน้ำตาลหรือดำ ดังนั้น ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี จึงได้แก่

  • ภาวะที่น้ำดีมีคอเลสเตอรอลมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูง ตับจึงขับคอเลสเตอรอลออกมาในน้ำดีมาก โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือกล้ามเนื้อถุงน้ำดีไม่สามารถบีบตัวนำคอเลสเตอรอลออกมาได้ ทำให้มีคอเลสเตอรอลตกค้างอยู่
  • ภาวะที่น้ำดีมีบิลิรูบินมากเกินไป อาจเกิดจากโรคที่ทำให้ตับสร้างบิลิรูบินมาก เช่น โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ หรือเกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เช่น ในภาวะโลหิตจาง หรือโรค G6PD เป็นต้น
  • ภาวะที่น้ำดีมีความเข้มข้นมาก ทำให้คอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน มีโอกาสตกตะกอนและรวมตัวกับสารอื่นๆ ในน้ำดีกลายเป็นก้อนนิ่วได้สูง

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก และไม่มีอาการผิดปกติ ก็อาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากก้อนนิ่วมีแนวโน้มจะขนาดใหญ่ขึ้น และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก็ต้องรักษาตามแนวทางดังนี้ ใช้ยาสลายนิ่ว
หากก้อนนิ่วมีขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นนิ่วที่เกิดจากคอเลสเตอรอล แพทย์มักให้ยาที่มีฤทธิ์ละลายก้อนนิ่ว ซึ่งได้แก่ ยา Chenodiol และยา Ursodiol แต่ยาดังกล่าวก็อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย คืออาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง

ผ่าตัดเอาก้อนนิ่วออก
การผ่าตัดเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดีที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และในกรณีที่ก้อนนิ่วไปอุดตันท่อน้ำดี หรือเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบ การผ่าตัดอาจใช้วิธี ผ่าแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่แพทย์นิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แผลมีขนาดเล็กลง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และลดเวลาพักฟื้นได้มาก แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่มาก และเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบรุนแรง ก็จำเป็นต้อง ผ่าแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) ร่วมกับการส่องกล้องเพื่อหาก้อนนิ่วในท่อน้ำดี ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ และต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า

การพักฟื้นหลังผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดแบบส่องกล้อง แผลจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงอาจจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล 2-3 คืน จากนั้นก็กลับมาพักฟื้นที่บ้านอีก 2-3 สัปดาห์ ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย

 

การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

ควบคุมน้ำหนัก และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลั่งคอเลสเตอรอลในน้ำดีมากเกินไป
หากต้องการลดน้ำหนัก ควรลดอย่างถูกวิธีและค่อยเป็นค่อยไป เพราะการที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลในน้ำดีมากกว่าปกติ

Copyright © 2019 – HealthCare Enterprises

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการทำ CT Scan

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการทำ CT Scan

  • การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย อาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการได้รับรังสีมากเกินไป แต่ยังไม่พบว่าการทำ CT Scan จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายในระยะยาวได้ และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจากรังสีใน CT Scan น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยที่ทำ CT Scan จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้ป่วยเป็นเด็ก หรือเด็กโต และผู้ที่เข้ารับการตรวจด้วยการฉายรังสีเป็นประจำ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารทึบรังสี มีโอกาสที่ผู้ป่วยที่ต้องใช้สารทึบรังสีจะมีอาการแพ้หลังจากได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น มีผดผื่นคัน หายใจติดขัด ปวดท้อง ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นต้น
  • เสี่ยงเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ รังสีจากการสแกนอาจกระทบต่อทารกในครรภ์และทำให้เกิดความผิดปกติซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กที่จะเกิดมา หากผู้ป่วยตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการอื่นในการตรวจวินิจฉัย
  • เสี่ยงเกิดอันตรายต่อทารกแรกเกิด สารทึบแสงที่อยู่ภายในร่างกายอาจส่งผ่านไปยังทารกในขณะที่ผู้ป่วยให้นมบุตร ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการได้รับสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกาย

ข้อดี-ข้อเสียของการทำ CT Scan

ข้อดี-ข้อเสียของการทำ CT Scan

ข้อดีของการทำ CT Scan

  • สามารถสแกนตรวจอวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่ได้
  • ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะตรวจสแกน
  • ภาพที่ได้มีรายละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวนด์ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น
  • สามารถสแกนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสแกนแบบ MRI

 

ข้อเสียของการทำ CT Scan

  • อาจมีวัตถุแปลกปลอมที่รบกวนการแปลผลเอกซเรย์ เช่น เครื่องประดับต่าง ๆ
  • ในขณะสแกน ต้องมีการกลั้นหายใจ ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่สามารถปฏิบัติได้
  • ในการสแกนสมองด้วย CT Scan อาจถูกกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะบัง ทำให้แปลผลคลาดเคลื่อนได้
  • ในตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีกระดูกอยู่จำนวนมาก เช่น บริเวณกระดูกสันหลัง อาจเกิดการบดบังอวัยวะส่วนที่ต้องการตรวจวินิจฉัย จึงทำให้ภาพที่ได้จาก CT Scan มีโอกาสแปลผลคาดเคลื่อนได้
  • CT Scan ใช้รังสีปริมาณมาก อาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการได้รับรังสีมากเกินไป

ข้อจำกัดในการทำ CT Scan

ข้อจำกัดในการทำ CT Scan

  • ตั้งครรภ์ หากไม่ใช่ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน แพทย์จะให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ใช้วิธีการอื่นในการตรวจวินิจฉัย เพื่อเลี่ยงไม่ให้รังสีเอกซเรย์ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
  • เด็ก ในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ผู้ปกครองควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ถึงการเตรียมตัวก่อนให้เด็กเข้าเครื่อง CT Scan หากเด็กยังเล็กมาก หรือรู้สึกตื่นกลัวมาก แพทย์จะให้ยาระงับประสาทเพื่อบรรเทาอาการก่อนทำ CT Scan
  • สแกนเมื่อจำเป็น ผู้ป่วยควรทำ CT Scan เมื่อมีเหตุจำเป็นอันสมควเมื่อผู้ป่วยมีอาการป่วยที่ปรากฏเท่านั้น โดยจะไม่ใช้ CT Scan เพื่อการคัดกรองเบื้องต้น เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจากการได้รับรังสีเอกซเรย์ และเพิ่มความวิตกกังวลเกินจำเป็น

การดูแลตนเองหลังทำ CT Scan

การดูแลตนเองหลังทำ CT Scan

การดูแลตนเองหลังทำ CT Scan
หลังทำ CT Scan ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านและทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือขับรถได้ตามปกติ แล้วมาตามนัดหมายเพื่อฟังผลจากแพทย์ ยกเว้นผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาระงับประสาทเพื่อคลายความกังวลก่อนเข้าเครื่องสแกน ซึ่งจะทำให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึมได้ ควรให้คนมารับกลับ ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองเพราะอาจเกิดอันตรายได้

ส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้สารทึบแสงช่วยให้การฉายภาพเอกซเรย์ชัดเจนขึ้น หลังทำ CT Scan แพทย์อาจให้อยู่รอดูอาการที่โรงพยาบาลประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้จากการใช้สารทึบรังสีหรือไม่ โดยผู้ป่วยควรดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อช่วยให้ไตขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ

หากผู้ป่วยมีข้อสงสัยประการใด ควรรีบถามและปรึกษาแพทย์ให้ทราบอย่างแน่ชัด และหากพบอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีผดผื่นคันหรือบวม
  • หน้าบวม ปากบวม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม
  • มีการปัสสาวะลดลงอย่างกะทันหัน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจลำบาก